Home / ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนการทำงานสิ่งพิมพ์ระบบออฟเซ็ท

การพิมพ์ในระบบออฟเซตนิยมใช้กับการพิมพ์นิตยสาร รายงานประจำปี จดหมายข่าว แผ่นปลิว แผ่นพับ และหนังสือพิมพ์ แฟ้ม สติ๊กเกอร์ และเอกสารสำนักงานต่าง ๆ  กว่าจะออกมาเป็นงานพิมพ์ที่สดใสกสวยงาม ก็ต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก ซึ่งต่อไปนี้เป็นขั้นตอนพอสังเขปในการทำงานพิมพ์

1. การออกแบบ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบงานพิมพ์ระบบออฟเซ็ทคือ
1.1 โปรแกรม  โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นควรเลือกให้เหมาะสม และคำนึงถึงขั้นตอนต่อไป คือการนำไฟล์งานไปแยกสี ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุด คือ โปรแกรมในตระกูล Adobe เช่น  Illustrator, Photoshop, Indesign, Pagemaker เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีโปรแกรม Corel Draw. Freehand, Quark ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ก็ใช้ได้ดี แต่ไม่นิยมเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาในการแยกสีของร้านฟิล์ม
1.2  โหมดสี  การแยกสีงานพิมพ์ระบบนี้ ใช้อยู่ในโหมดสี CMYK ดังนั้นควรออกแบบให้อยู่ในโหมด CMYK เสียแต่แรก เพื่อให้ได้งานพิมพ์ที่ไกล้เคียงมากที่สุด
1.3 ขนาดกระดาษ ขนาดกระดาษเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงไม่แพ้กัน ผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ต้องเข้าใจกระดาษได้ดี กระดาษในท้องตลาดมีอยู่หลักๆ ไม่กี่ขนาด คือ 24″x35″, 25″x36″, 31×43″ เป็นต้น จึงต้องคำนวนให้ดีว่าจะใช้งานขนาดเท่าไหร่ ใช้กระดาษอะไร

2. การแยกสี ทำเพลทพิมพ์
การพิมพ์ระบบออฟเซ็ท 4 สี เป็นการพิมพ์แบบสอดสี ให้เม็ดสีมาเหลื่อมหรือทับกัน ซึ่งจะเกิดสีได้ต้องมีการทำแม่พิมพ์คือเพลท ซึ่งมีขั้นตอนดังคร่าว ๆ ดังนี้
1. ทำไฟล์งาน ไฟล์งานให้อยู่ในโหมด CMYK จะดีที่สุด
2. แยกสีออกมาเป็นฟิล์มโดย เครื่องที่เรียกว่า อิมเมจเซ็ตเตอร์  (ทุกวันนี้มีเครื่องแยกสีออกมาเป็นเพลทได้เลยคือเครื่อง CTP) เครื่องนี้จะ เป็นการแยกไฟล์ออกมาเป็นสี ๆ   คือ
– C cyan (ฟ้าอมเขียว)
– M magenta ( แดงอมม่วง)
– Y yellow (เหลือง)
– K black   (ดำ) หรือ
– Pantone พวกสีพิเศษ
3. อัด แม่พิมพ์ หรือเรียกว่า ทำเพลท
4. ล้าง อาบน้ำยา

3 . การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ออฟเซ็ท    
นำเแม่พิมพ์หรือเพลทที่ได้จากการแยกสีมาพิมพ์ด้วยเครื่องออฟเซ็ท จะได้สีตามที่ต้องการ เพื่อนำงานไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

4. การเคลือบ
การเคลือบทำให้งานมีความสวยงามยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องดูความจำเป็นควบคู่ไปด้วย เพราะจะทำให้ต้นทุนสูงขั้นไปอีก การเคลือบมีหลายอย่างเช่น

4.1  เคลือบวานิช เป็น การเอาน้ำยามาพิมพ์เคลือบด้วยเครื่องพิมพ์ ทำให้งานมีเงางามขึ้น หรือถ้าเป็นน้ำยาด้านก็ทำให้งานดูด้านๆ การเคลือบวิธีนี้ไม่ค่อยนิยมแล้ว เนื่องจากงานที่ได้ไม่สวยเท่าที่ควร
4.2  เคลือบยูวี  เป็นกระบวนการเคลือบโดยการถ่ายเทน้ำมันวานิช ยู.วี. จากโมยางสู่สิงพิมพ์ เพื่อเพิ่มสีสัน และความเงาของสิ่งพิมพ์ทำให้เกิดการสะดุดตาแก่ผู้พบเห็น การเคลือบสิ่งพิมพ์ด้วยวานิช ยู.วี.มีขั้นตอน คือ ปล่อยชิ้นงานผ่านโมเคลือบเพื่อรับวานิชจากโมลงสิ่งพิมพ์ แล้วผ่านตู้อบยู.วี. วานิชจะแห้งและเซ็ตตัวหลังจากได้รับคลื่นยู.วี.จากหลอด ยู.วี.ภายในตู้อบ คุณสมบัติของการเคลือบยูวี
•  เพิ่มสีสัน ความเงาของสิ่งพิมพ์ให้ดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
•  ป้องกันรอยขูดขีดของผิวสิ่งพิมพ์
•  ป้องกันความชื้นจากละอองน้ำ
4.3  เคลือบพีวีซี  (OPP FILM LAMINATING) เป็นกระบวนการเคลือบโดยหลักการกดและรีดระหว่างฟิล์มพลาสติก กับสิ่งพิมพ์โดยการถ่ายเทกาวลงบนฟิล์มพลาสติก แล้วผ่านความร้อน เพื่อให้กาวเซ็ตตัวและแห้ง แล้วมาประกบระหว่างฟิล์มกับชิ้นงาน หรือสิ่งพิมพ์ผ่านลูกรีดที่มีแรงกดเพื่อรีดฟองอากาศออกจากสิ่งพิมพ์ การเคลือบมีทั้งแบบด้าน เงา หรือตามคุณสมบัติของฟิล์ม อาทิ พลาสติกสายรุ้งหรือฟิล์ม พิเศษ เช่น สีเป็น เกล็ด เป็นสีสรร คุณสมบัติองการเคลือบพีวีซี
•  เพิ่มสีสัน ความเงาของสิ่งพิมพ์ให้ดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น
•  ป้องกันรอยขูดขีดของผิวสิ่งพิมพ์
•  ป้องกันความชื้นจากละอองน้ำ
4.4 การเคลือบยูวีเฉพาะจุด   (SPOT U.V.COATING) การเคลือบ ยู.วี.เฉพาะจุดเป็นการดำเนินงานในระบบซิลค์สกรีน โดยนำฟิล์มถ่ายลงบล็อคสกรีน การเคลือบเฉพาะจุดเพื่อเน้นจุดสำคัญ ๆ ที่ต้องการให้ดึงดูดสายตาของผู้พบเห็น เพิ่มสีสันคุณค่าของสินค้าที่ต้องการขาย เพิ่มมูลค่าสินค้าได้อีกด้วย

การเคลือบยู.วี.เฉพาะจุดมี 2 อย่างคือ
–  เคลือบ บนสิ่งพิมพ์
–  เคลือบบนสิ่งพิมพ์ ที่มีการเคลือบพลาสติกด้านก่อน

5. การไดคัท
การไดคัท คือการใช้เครื่องปั๊ม ตัดกระดาษให้งานพิมพ์เป็นรูปร่างต่างๆ ตามที่ต้องการ

6. การพับ
เป็นการนำมาพิมพ์มาพับเป็นตอนๆ เช่น พับ 2 ตอน พับ 3 ตอน พับหน้าต่าง หรือพับเป็นยกหนังสือ เป็นต้น

7. การเข้าเล่มหนังสือ
การเข้าเล่มหนังสือ เป็นการนำงานพิมพ์หลายๆ ใบมาทำเป็์นรูปเล่ม ซึ่งสามารถเข้าเล่มได้หลายอย่างเช่น  เข้าเล่มไสกาว เข้าเล่มแบบจั่วปัง (ปกแข็ง) เข้าเล่มแบบห่วง เป็นต้น

8. การตัด
การตัดเป็นการเอางานพิมพ์มาตัดให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ

ฯลฯ

 

ขั้นตอนการทำงานพอสังเขป

1.ใบปลิว

รับไฟล์งาน > ปริ้นดิจิตอลปรู๊ฟ > ส่งปรู๊ฟคอนเฟิร์มลูกค้า > จัดการเตรียมไฟล์ > ไฟล์เลย์เอ้าท์ > ออกเพลท CTP > พิมพ์ offset > ตัดปลิว > QC > ห่อ > จัดส่ง

2. แผ่นพับ

รับไฟล์งาน > ปริ้นดิจิตอลปรู๊ฟ > ส่งปรู๊ฟคอนเฟิร์มลูกค้า > จัดการเตรียมไฟล์ > ไฟล์เลย์เอ้าท์ > ออกเพลท CTP > พิมพ์ offset > ตัดปลิว > พับ  > QC > ห่อ > จัดส่ง

3. หนังสือ

รับไฟล์งาน > ปริ้นดิจิตอลปรู๊ฟ > ส่งม๊อคอัพคอนเฟิร์มลูกค้า > จัดการเตรียมไฟล์ > ไฟล์เลย์เอ้าท์ > ออกเพลท CTP > พิมพ์ offset > พับยก > จัดชุด > เข้าเล่ม > QC > ห่อ > จัดส่ง

4.งานไดคัท

รับไฟล์งาน > ปริ้นดิจิตอลปรู๊ฟ > ส่งม๊อคอัพคอนเฟิร์มลูกค้า > จัดการเตรียมไฟล์ > ไฟล์เลย์เอ้าท์ > ออกเพลท CTP > พิมพ์ offset > ทำบล๊อกไดคัท > ปั๊มไดคัท > QC > ห่อ > จัดส่ง

ฯลฯ

 

Top
error: Content is protected !!